“เฟรนช์ฟรายส์” ไม่ได้มาจากฝรั่งเศส? | « Les frites » ne sont pas françaises ?

Les frites sont l’un des plats d’accompagnement les plus populaires au monde. On les appelle « French Fries » dans de nombreux pays. Mais, sont-elles vraiment françaises ? D’où viennent-elles exactement ?
มันฝรั่งทอดเป็นหนึ่งในเครื่องเคียงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ในหลายประเทศเรียกกันว่า “เฟรนช์ฟรายส์” แต่เฟรนช์ฟรายส์นี้มาจากฝรั่งเศสจริงๆ เหรอ มันมาจากไหนกันแน่?
Malgré son nom, un certain nombre de personnes pensent que la frite est d’origine belge. Les Belges aiment les frites. La Belgique est le plus gros exportateur mondial de frites et est le pays où l’on consomme le plus de frites par habitant : de 80 à 85 kg par personne chaque année. Même son plat national « moules frites » contient des frites.
แม้จะชื่อเฟรนช์ฟรายส์ แต่หลายคนเชื่อว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากเบลเยี่ยม ชาวเบลเยี่ยมชื่นชอบเฟรนส์ฟรายมาก เบลเยี่ยมส่งออกเฟรนช์ฟรายส์มากที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่คนบริโภคเฟรนช์ฟรายส์มากที่สุดอีกด้วย 80-85 กก./คน ในหนึ่งปี แม้แต่อาหารประจำชาติ “moules frites” ก็ยังมีเฟรนช์ฟรายเป็นส่วนประกอบ
Pour remplacer du poisson ? | ถูกใช้ทอดแทนปลา?
Pour les Belges, cet aliment emblématique serait né à Namur, ville francophone se situant non loin de Bruxelles. Au 17ème siècle, durant un hiver particulièrement rigoureux, le fleuve de la Meuse gela rendant impossible la pêche pour ses habitants. Les gourmands ont alors remplacé le fretin (poisson de petite taille) par des pommes de terre en forme de petits poissons.
สำหรับชาวเบลเยี่ยม เชื่อกันว่าอาหารอันเป็นสัญลักษณ์นี้ถือกำเนิดขึ้นในเมืองนามูร์ เมืองที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงบรัสเซลล์ ในศตวรรษที่17 ในช่วงฤดูหนาวที่หนาวเป็นพิเศษ แม่น้ำเมิซกลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถจับปลาได้ จึงมีคนคิดนำมันฝรั่งมาทอดแทนปลา โดยหั่นเป็นลักษณะเหมือนปลาตัวเล็กๆ
Les frites n’ont absolument rien de français | เฟรนช์ฟรายส์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสเลย

Les Belges insistent pour dire que le mot « French » dans « French Fries » n’a rien à voir avec la France. La seule raison pour laquelle on appellerait les frites « French Fries », serait que les soldats américains, stationnés en Belgique, auraient apporté des frites aux États-Unis et les auraient nommés ainsi d’après la langue française parlée en Wallonie. En outre, on prétend que le mot « french » dans ce contexte viendrait du verbe « to french » qui veut dire couper dans le sens de la longueur en vieil anglais.

ชาวเบลเยี่ยมยืนกรานว่าคำว่า “French” ใน “French Fries” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสเลยสักนิด เหตุผลเดียวที่เราเรียกกันว่าเฟรนช์ฟรายส์นี้ เกิดจากทหารชาวอเมริกันที่เคยประจำการอยู่ในเบลเยี่ยมนำเฟรนช์ฟรายส์กลับไปอเมริกา และตั้งชื่อมันว่าเฟรนช์ฟรายส์เพราะคนวัลโลเนียใช้ภาษาฝรั่งเศสกัน นอกจากนี้ยังกล่าวกันว่า คำว่า “french” ในบริบทนี้ มาจากคำกิริยา “to french” ในภาษาอังกฤษยุคเก่า ซึ่งหมายถึงการตัดตามแนวยาว
D’origine parisienne ? | มีต้นกำเนิดจากปารีส?
En revanche, de nombreuses personnes affirment que les frites ne sont pas belges, mais sont en fait d’origine parisienne. Dans les années 1780, des vendeuses de beignets frits s’installèrent sur le fameux Pont Neuf à Paris. On pense qu’elles furent les premières à plonger des tranches de pommes de terre dans une friture. Plus tard dans les années 1830, la frite devint un symbole de la cuisine populaire parisienne. Elle figurait dans toutes les pièces de théâtre, les romans, et les chansons.
ในทางกลับกัน หลายคนเชื่อว่าเฟรนช์ฟรายส์ไม่ได้มาจากเบลเยี่ยม แต่จริงๆแล้วมีต้นกำเนิดจากปารีส ในช่วงปี 1780 แม่ค้าขายโดนัททอดเริ่มมาตั้งแผงขายกันที่สะพานปงเนิฟ ซึ่งเชื่อกันว่าพวกเขานั่นแหละเป็นผู้ริเริ่มคิดนำมันฝรั่งสไลด์ลงไปทอดในหม้อ ภายหลังในปี 1830 เฟรนช์ฟรายส์กลายเป็นสัญลักษณ์อาหารยอดนิยมของปารีส โดยไปปรากฏในละครทุกเรื่อง ทั้งในนิยาย และในเพลง
C’est en 1794, dans le livre de recettes de Mme Mérigot, une cuisinière française, que les frites ont été mentionnées pour la première fois. La cuisinière y explique comment préparer des patates coupées en tranches en friture.
เฟรนช์ฟรายส์ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1794 ในตำราทำอาหารของมาดามเมริโก แม่ครัวชาวฝรั่งเศส โดยในคู่มือได้อธิบายถึงวิธีการทำเมนูมันฝรั่งแผ่นทอด
L’arrivée en Belgique | การเข้ามาในเบลเยี่ยม
Frederic Krieger était un forain bavarois qui travaillait comme apprenti chez un rôtisseur à Montmartre, à Paris. Il y apprit à confectionner des frites. Plus tard, il s’installa à Liège, en Belgique, où il ouvrit une baraque à frites en 1838. C’est ainsi que la frite aurait été introduite en Belgique, et popularisée dans toutes les foires.
Frederic Krieger พ่อค้าชาวบาวาเรียน เคยไปฝึกงานที่ร้านขายเนื้อย่างในย่าน Montmartre ในปารีส ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้เรียนรู้การทำเฟร้นช์ฟรายส์ ก่อนจะย้ายไปตั้งรกรากที่เมือง Liège ในเบลเยี่ยม และเปิดร้านขายเฟร้นช์ฟรายส์ในปี 1838 เขาเดินทางไปออกงานเทศกาลทุกหนแห่ง และทำให้เฟรนช์ฟรายส์กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วเบลเยียม และในทุกเทศกาล
Pourtant, ses tubercules sont toujours découpés en rondelles. Il faut attendre 21 ans avant que la frite adopte sa forme de bâtonnet.
อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งของเขาจะถูกหั่นเป็นแผ่นกลมเสมอ ต้องรออีก21ปี กว่าเฟรนช์ฟรายส์จะพัฒนารูปร่างเป็นแบบแท่ง
Alors, belges ou françaises finalement ? | แล้วสรุปว่าเป็นของเบลเยี่ยมหรือฝรั่งเศส?
L’histoire de l’origine réelle des frites reste encore un mystère. À l’époque, il n’existait pas ni de droits d’auteur ni de caméra. Et il n’y a aucune recherche scientifique sérieuse sur ce sujet jusqu’à aujourd’hui. Par conséquent, peu importe ce que vous croyez, françaises ou belges, les deux sont possibles !
ประวัติความเป็นมาจริง ๆของเฟร้นช์ฟรายส์ยังคงเป็นปริศนาอยู่ ในสมัยนั้นไม่มีทั้งลิขสิทธิ์หรือกล้องถ่ายรูปใด ๆ อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นจริงเป็นจังเกี่ยวกับเรื่องนี้จนถึงทุกวันนี้ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเชื่อว่าเป็นของฝรั่งเศสหรือเบลเยี่ยม ก็เป็นไปได้ทั้งคู่
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้