5 โครงสร้างปฏิเสธ ใช้บ่อยที่สุดในภาษาฝรั่งเศส

การปฏิเสธหรือการบอกว่า “ไม่” ในภาษาไทยนั้นจะง่ายมาก ๆ เพียงแค่เพิ่มคำว่า “ไม่” เข้าไป ก็เปลี่ยนประโยค ๆ หนึ่งจากยอมรับเป็นปฏิเสธได้เลย 

ในภาษาฝรั่งเศสนั้น การตอบปฏิเสธก็ง่ายพอ ๆ กับภาษาไทย เพียงแค่เพิ่มคำบางคำ ก็เปลี่ยนประโยคเป็นปฏิเสธได้เลยเช่นกัน 

เราจะมีดูโครงสร้างปฏิเสธ 5 โครงสร้างที่คล้ายคลึงกันมาก ๆ และได้ใช้บ่อยที่สุดในภาษาฝรั่งเศสกันค่ะ

Play Video
Play Video

1. ne + verbe + pas | ไม่

โครงสร้าง ne/n’ + verbe + pas คือโครงสร้างที่พื้นฐานที่สุด โดยจะแปลว่า “ไม่” เฉย ๆ (โดยเราจะใช้ n’ ด้านหนัากริยาที่สะกดขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet) ยกตัวอย่างเช่น
    Je ne bois pas le café.
    ฉันไม่ดื่มกาแฟ
    Elle ne se douche pas le matin.
    เขาผู้หญิงไม่อาบน้ำตอนเช้า

ในประโยคที่ถูกผันและมีกริยาช่วย ne…pas จะคล่อมเฉพาะกริยาช่วยเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
    Nous n’avons pas mangé ce midi.
    พวกเราไม่ได้กินข้าวเที่ยงนี้
    Il ne va pas dîner ce soir.
    เขาผู้ชายจะไม่กินข้าวเย็นนี้

ในประโยคที่มีกริยาหลักมากกว่า 1 ตัว ne…pas จะคล่อมเฉพาะกริยาตัวแรกเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
    Il ne peut pas lire le chinois.
    เขาผู้ชายอ่านภาษาจีนไม่ได้
    Vous ne devez pas faire du bruit.
    คุณ/พวกคุณ/พวกเธอต้องไม่ทำเสียงดัง

โครงสร้างนี้จะเปลี่ยนประโยคยอมรับทั่วไปเป็นประโยคปฏิเสธ เหมือนกับการเพิ่มคำว่า “ไม่” เข้าไปในประโยคนั่นเอง

2. ne + verbe + jamais | ไม่เคย, ไม่มีวัน

โครงสร้าง ne/n’ + verbe + jamais จะแปลว่า “ไม่เคย, ไม่มีวัน, ไม่…เลย” วิธีการใช้จะเหมือนกับโครงสร้าง ne…pas และเช่นเดิม n’ จะถูกใช้ด้านหนัากริยาที่สะกดขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet ยกตัวอย่างเช่น
    Elle ne part jamais en vacances.
    เขาผู้หญิงไม่เคยไปพักร้อนเลย
    Nous ne regardons jamais la télé.
    พวกเราไม่ดูโทรทัศน์เลย

ในประโยคที่ถูกผันและมีกริยาช่วยหรือในประโยคที่มีกริยาหลักมากกว่า 1 ตัว ne…jamais ก็จะคล่อมเฉพาะกริยาช่วยหรือกริยาตัวแรกเท่านั้น (เช่นเดียวกับ ne…pas) ยกตัวอย่างเช่น
    Ils ne sont jamais allés en France.
    พวกเขาไม่เคยไปประเทศฝรั่งเศส
    Il ne va jamais revenir ici.
    เขาผู้ชายจะไม่มีวันกลับมาที่นี่

ne…jamais จะเหมือนกับ “never” ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

3. ne + verbe + plus | ไม่...แล้ว

โครงสร้าง ne/n’ + verbe + plus จะแปลว่า “ไม่แล้ว” ซึ่งจะไว้ใช้สื่อถึงสิ่งที่เคยทำ แต่เลือกทำไปแล้วนั่นเอง เช่นเดิม n’ จะถูกใช้ด้านหนัากริยาที่สะกดขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet ยกตัวอย่างเช่น
    Nous ne fumons plus.
    พวกเราไม่สูบบุหรี่แล้ว
    Elle ne mange plus de viande.
    เขาผู้หญิงไม่กินเนื้อสัตว์แล้ว
    Il ne boit plus d’alcool.
    เขาผู้ชายไม่ดื่มแอลกอฮอล์แล้ว

ในประโยคที่มีกริยาหลักมากกว่า 1 ตัว ne…plus ก็จะคล่อมเฉพาะกริยาตัวแรกเท่านั้นเช่นเดิม ยกตัวอย่างเช่น
    Ils ne vont plus boire d’alcool demain.
    พวกเขาจะเลิกดื่มแอลกอฮอล์พรุ่งนี้

ne…plus เป็นอีกโครงสร้างที่ได้ใช้บ่อยเพื่อสื่อถึงสิ่งที่เราเลิกทำไปแล้วนั่นเอง

4. ne + verbe + plus | ไม่...แล้ว

โครงสร้าง ne/n’ + verbe + rien จะแปลว่า “ไม่…อะไร” ยกตัวอย่างเช่น “ไม่มีอะไร” “ไม่กินอะไร” “ไม่ทำอะไร” เป็นต้น เช่นเดิม n’ จะถูกใช้ด้านหนัากริยาที่สะกดขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet มาดูตัวอย่างประโยคกัน
    Je ne vois riend’ici.
    ฉันมองไม่เห็นอะไรจากที่นี่
    Il n’a rien à faire.
    เขาผู้ชายไม่มีอะไรทำ

ในประโยคที่ถูกผันและมีกริยาช่วย หรือในประโยคที่มีกริยาหลักมากกว่า 1 ตัว ne…rien ก็จะคล่อมเฉพาะกริยาช่วยหรือกริยาตัวแรกเท่านั้น (เช่นเดียวกับ ne…pas )ยกตัวอย่างเช่น
    Tu ne vas rien manger ?
    เธอจะไม่กินอะไรเลยเหรอ?
    Il n’a rien vu.
    เขาผู้ชายไม่ได้เห็นอะไรเลย

นอกจากนี้แล้ว rien ยังสามารถทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคได้เช่นกัน โดยโครงสร้างจะเป็น Rien ne + verbe โครงสร้างนี้จะแปลเป็น “ไม่มีอะไร…” กริยาที่ตามมานั้นจะผันอยู่ในรูป il/elle/on ยกตัวอย่างเช่น
    Rien ne marche
    ไม่มีอะไรใช้งานได้เลย
    Rien n’a bougé.
    ไม่มีอะไรขยับเขยื้อน
    Rien n’est impossible.
    ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

5. ne + verbe + personne | ไม่...ใคร

โครงสร้าง ne/n’ + verbe + personne จะแปลว่า “ไม่…ใคร” ยกตัวอย่างเช่น “ไม่เห็นใคร” “ไม่เจอใคร” เป็นต้น เช่นเดิม n’ จะถูกใช้ด้านหนัากริยาที่สะกดขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet มาดูตัวอย่างประโยคกัน
    Il n’ a personne dans la cuisine.
    ไม่มีใครอยู่ในครัว
    Je ne connais personne ici.
    ฉันไม่รู้จักใครที่นี่

โครงสร้างปฏิเสธ ne…personne จะต่างจากโครงสร้างปฏิเสธอื่น ๆ ตรงที่ในประโยคที่ถูกผันและมีกริยาช่วย หรือในประโยคที่มีกริยาหลักมากกว่า 1 ตัว ne…personne จะคล่อมกริยาทุกตัว และในกรณีที่มีคำบุพบท ne…personne
จะคล่อมคำบุพบทด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
    Vous n’avez vu personne ?
    คุณ/พวกคุณ/พวกเธอไม่ได้เห็นใครเลยเหรอ?
    Je ne vais inviter personne.
    ฉันจะไม่ชวนใครเลย
    Elles ne peuvent parler avec personne.
    ฉันจะไม่ชวนใครเลย

Personne สามารถทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคได้เช่นเดียวกันกับ rien โดยโครงสร้างจะเป็น Personne ne + verbe โครงสร้างนี้จะแปลเป็น “ไม่มีใคร…” กริยาที่ตามมานั้นจะผันอยู่ในรูป il/elle/on ยกตัวอย่างเช่น
    Personne ne mange le gâteau.
    ไม่มีใครกินเค้ก
    Personne n’a parlé pendant 5 minutes.
    ไม่มีใครพูดเป็นเวลา 5 นาที
    Personne ne veut travailler aujourd’hui.
    ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

โครงสร้างปฏิเสธสำคัญในทุกภาษา เพราะเป็นไม่ได้ที่เราจะใช้ชีวิตโดยไม่มีการปฏิเสธอะไรซักอย่าง ใช่ไหมคะ?​ 🙂 เพราะฉะนั้นเราต้องทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างปฏิเสธพวกนี้ เพื่อที่จะสามารถนำมันไปใช้ในชีวิตประจำวันนะคะ Bonne journée ! 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

แตงโม

เรียนภาษาฝรั่งเศส ง่ายกว่าที่คิด

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้