วันเมษาหน้าโง่ในฝรั่งเศส | “Poisson d’avril !”

Au 1er avril chaque année, des enfants français dessinent et collent des poissons en papier dans le dos de leurs amis. Il est aussi de coutume de faire des blagues et de faire croire à quelque chose qui est absolument faux. Et lorsque la victime le découvre, on s’exclame “poisson d’avril !”. Cette tradition est célébrée depuis longtemps dans de nombreux pays européens, pas seulement en France. Mais savez-vous comment le poisson a été associé au 1er avril ? Quelle est son origine ?
วันที่ 1 เมษายน ของทุกๆปี ในฝรั่งเศส เด็กๆจะวาดรูปปลาลงบนกระดาษแล้วเอาไปติดที่หลังเพื่อน นอกจากนี้การแต่งเรื่องขึ้นมาหลอกให้คนเชื่อก็ถือเป็นเรื่องปกติ และเมื่อคนที่ถูกแกล้งจับได้ คนที่สร้างเรื่องจะตะโกนว่า “poisson d’avril !” ธรรมเนียมนี้มีการเฉลิมฉลองกันมาช้านานในหลายประเทศทางยุโรป ไม่ใช่แค่ในฝรั่งเศส แต่ทราบกันไหมคะว่า poisson” หรือปลาเนี่ย มาเกี่ยวข้องกับวันที่ 1 เมษายน ได้อย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไรกันบ้าง มาดูกันค่ะ !
Pourquoi le poisson ? | ทำไมต้องเป็นปลา?

Il existe plusieurs versions expliquant l’origine du poisson d’avril le 1er avril. Les croyants voient dans le poisson d’avril un symbole du Carême, la période chrétienne où on ne mange pas d’animaux de la terre. Il n’est donc permis de manger que du poisson. Tandis qu’un certain nombre de personnes assurent que le poisson vient du signe zodiacal du poisson, utilisé comme illustration dans des cartes envoyées le 1er avril pour symboliser la fête du Nouvel An.

Une autre hypothèse possible est liée à l’interdiction de la pêche au début du mois d’avril. Les pêcheurs se voyaient offrir un hareng mort accroché dans le dos pendant la période de reproduction des poissons, qui a ensuite été remplacé par un poisson en papier.

ที่มาที่ไปของปลาในวันที่ 1 เมษา มีหลายเวอร์ชั่น ชาวคริสต์มองว่าปลาในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลมหาพรต เป็นช่วงที่ชาวคริสต์จะไม่กินสัตว์บก จึงกินได้แค่ปลา ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งเชื่อว่าปลามาจากสัญลักษณ์ของราศีมีน ซึ่งใช้เป็นภาพประกอบในการ์ดอวยพรปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน

สมมติฐานที่เป็นไปได้อีกข้อหนึ่งเชื่อมโยงกับการห้ามออกหาปลาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนเป็นต้นไป โดยมีการติดปลาเฮอร์ริ่งที่ตายแล้วบนหลังชาวประมงในช่วงฤดูผสมพันธุ์ปลา ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นปลากระดาษแทน

Et pourquoi le 1er avril ? | แล้วทำไมต้องวันที่ 1 เมษา?
Autrefois, les français fêtaient le nouvel an pendant toute une semaine jusqu’au 1er avril. C’était aussi le mois idéal pour célébrer la fin de l’hiver. Mais un jour, Charles IX, le roi de France, a décidé de réformer le calendrier. A partir de 1564, le début de la nouvelle année a été déplacé du 25 mars au 1er janvier. Cependant, beaucoup de gens avaient du mal à s’habituer à ce nouveau calendrier, et certains, surtout dans les régions rurales, n’étaient même pas au courant du changement de date. Ils continuaient donc à offrir des étrennes en avril. Pour se moquer d’eux, quelques farceurs ont eu l’idée de leur offrir de faux cadeaux. Année après année, les cadeaux d’avril se sont transformés en cadeaux pour rire.
สมัยก่อนคนฝรั่งเศสฉลองปีใหม่หนึ่งอาทิตย์เต็มจนถึงวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะกับการฉลองการสิ้นสุดหน้าหนาว กระทั่งวันหนึ่งกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 9 ได้ตัดสินใจปฏิรูปปฏิทินใหม่ เริ่มจากปี 1564 เป็นต้นไป วันปีใหม่ถูกย้ายมาเป็นวันที่ 1 มกราคม แทนวันที่ 25 มีนาคม อย่างไรก็ตามคนจำนวนมากรู้สึกไม่คุ้นชินกับกำหนดการใหม่ และคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการเปลี่ยนแปลงปฏิทินแล้ว จึงยังมีการมอบของขวัญปีใหม่กันในเดือนเมษายนเหมือนเช่นเคย ต่อมามีคนคิดแกล้งกลุ่มคนเหล่านี้โดยการให้ของขวัญปลอม ผ่านมาปีแล้วปีเล่า การมอบของขวัญในเดือนเมษากลายมาเป็นของขวัญเพื่อเรียกเสียงหัวเราะ
Le poisson d’avril dans les autres pays | วันที่ 1 เมษาในประเทศต่างๆ

Cette coutume de faire des plaisanteries s’est répandue dans de nombreux pays. Voici quelques exemples :

  • En Belgique, en Suisse, en Italie, et au Québec, la tradition est la même qu’en France : accrocher des poissons en papier dans le dos et faire des blagues.
  • Dans les pays anglophones, c’est “The April Fool’s Day” dont on parle. Et en Écosse, la fête dure deux jours. Il faut être deux fois plus vigilant qu’en France !
  • Dans les pays hispanophones et aux Philippines, il existe une fête comparable tombant le 28 décembre qui s’appelle “Día de los Santos Inocentes” ou « jour des saints innocents ».

ประเพณีการสร้างเรื่องตลกนี้มีแพร่หลายในหลายประเทศ เช่น

  • ในเบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี และในควิเบก ใช้ธรรมเนียมเดียวกันกับในฝรั่งเศส ติดปลาที่หลัง และแต่งเรื่องหลอกกัน
  • ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เรียกกันว่า “April Fool’s Day” ที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ และในสก็อตแลนด์ จัดขึ้นถึงสองวัน ต้องระวังกว่าในฝรั่งเศสถึงสองเท่า !
  • ในประเทศที่ใช้ภาษาเสปน และประเทศฟิลลิปปินส์ มีเทศกาลคล้ายๆกัน จัดขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคม เรียกว่า “Día de los Santos Inocentesหรือ “วันนักบุญผู้บริสุทธิ์”
Saviez-vous que la capitale de la France n’est pas Paris ? C’est Cannes !

ว่าแต่ทุกคนทราบกันไหมคะว่าจริงๆแล้วเมืองหลวงของฝรั่งเศสไม่ใช่ปารีส แต่คือเมืองคานส์ !

 

 

 

 

 

 

POISSON D’AVRIL !!!

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้