เรื่องราวสั้น ๆ เกี่ยวกับหอไอเฟลที่คุณ(อาจ)ไม่เคยรู้มาก่อน!

Il est impossible de venir à Paris et d’échapper à la Tour Eiffel, le symbole de la France et l’un des monuments les plus visités du monde qui se situe sur le Champ de Mars, en bordure de la Seine. C’est l’un des endroits incontournables pour de nombreuses personnes. Mais avant de partir pour admirer cette tour légendaire, n’êtes-vous pas d’accord que si vous connaissiez un peu de son histoire, votre voyage sera beaucoup plus excitant ? C’est parti ! 😊
มื่อมาถึงปารีสแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงหอไอเฟล สัญลักษณ์ของฝรั่งเศสและหนึ่งในอนุสาวรีย์ที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ Champ de Mars ริมฝั่งแม่น้ำแซน เชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ต้องไปเยือนให้ได้สำหรับใครหลายๆ คนเลย แต่ก่อนจะออกเดินทาง หากทราบประวัติความเป็นมาของหอคอยในตำนานแห่งนี้สักนิดจะทำให้ทริปครั้งนี้น่าตื่นเต้นขึ้นไม่น้อยเลยค่ะ ว่าแล้วไปดูกันเลย! 😊

Pourquoi la tour Eiffel a-t-elle été construite ? | หอไอเฟลถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไร?

En 1889, une exposition universelle est organisée à Paris pour célébrer le centenaire de la Révolution française. A cette occasion, un concours est lancé pour la conception d’un grand monument pour servir d’entrée à l’exposition. C’est le projet de la tour Eiffel qui a été sélectionné parmi 107 projets. La tour Eiffel porte le nom de l’ingénieur Gustave Eiffel.
ในปี 1889 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการจัดการแข่งขันออกแบบอนุสาวรีย์ขึ้นในปารีสเพื่อใช้เป็นทางเข้างาน World’s Fair หอไอเฟลได้รับคัดเลือกจากโครงการทั้งหมด 107 โครงการ และถูกตั้งชื่อตามวิศวกรเจ้าของโครงการ Gustave Eiffel
Cette structure légère, aérée mais solide a été construite en seulement deux ans, malgré de nombreuses protestations. En effet beaucoup de personnes n’aimaient pas la tour Eiffel et la surnommaient “l’inutile et monstrueuse tour Eiffel”. La tour a cependant été construite et est devenue cette année-là la plus haute structure du monde à la place du Washington Monument. La tour est aussi devenue un symbole de la puissance industrielle de la France.
แม้จะมีการประท้วงมากมาย และมีการกล่าวหาว่าหอไอเฟลนั้น “ไร้ประโยชน์และน่าเกลียด” สิ่งปลูกสร้างที่เบา โปร่ง แต่แข็งแรงแห่งนี้ก็ได้ก่อสร้างขึ้นสำเร็จภายในเวลาเพียง 2 ปี กลายเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลกในขณะนั้น แทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และยังเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมฝรั่งเศส

La radio a sauvé la tour Eiffel de la destruction ! | วิทยุช่วยหอไอเฟลให้รอดพ้นจากการถูกทำลาย!

Il n’était pas question à l’époque de garder cette structure de 300 mètres de hauteur comme symbole permanent de la France. Initialement, la tour Eiffel devait être détruite après 20 ans, en 1909. De plus, le nombre de visiteurs a diminué considérablement après l’exposition universelle et la baisse du prix du billet n’y a rien changé. Pour empêcher que la tour ne disparaisse, Gustave Eiffel a pris l’initiative de l’utiliser pour mener des expériences scientifiques. Il a aménagé un laboratoire à son sommet et a commencé de nombreuses expériences, notamment en météorologie. Cependant, l’invention qui va réellement la sauver, ce sont les expériences de télégraphie sans fil. Plus tard, l’antenne a servi à intercepter les messages de l’ennemi allemand pendant la Première Guerre mondiale, ce qui a aidé à gagner la guerre. Depuis lors et jusqu’à aujourd’hui, la tour Eiffel continue à servir d’émetteur et de récepteur pour les émissions de radio.
ในเวลานั้น ไม่มีใครสนใจที่จะเก็บสิ่งปลูกสร้างสูง 300 เมตรแห่งนี้ไว้เป็นสัญลักษณ์ถาวรของฝรั่งเศส แต่เดิมหอไอเฟลจะต้องถูกทำลายในปี ค.ศ. 1909 หรือ 20 ปีหลังก่อสร้าง นอกจากนี้ จำนวนผู้เข้าชมยังลดลงเป็นอย่างมากหลังจบเทศกาล และการลดราคาตั๋วก็ไม่ช่วยอะไรเลย เพื่อป้องกันไม่ให้หอคอยถูกรื้อถอน Gustave Eiffel จึงริเริ่มใช้มันเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เขาตั้งห้องปฏิบัติการขึ้นบนยอดหอคอย และเริ่มทำการทดลองมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตุนิยมวิทยา อย่างไรก็ตาม สิ่งประดิษฐ์ที่จะมาช่วยชีวิตหอไอเฟลได้จริงๆ ก็คือการคิดค้นโทรเลขไร้สาย ต่อมา เสาอากาศถูกใช้เพื่อขัดขวางการสื่อสารของศัตรูชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำไปสู่ชัยชนะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หอไอเฟลยังคงทำหน้าที่เป็นหอกระจายและรับสัญญาณสำหรับการออกอากาศทางวิทยุจนถึงปัจจุบัน

Partager des photos de la tour Eiffel la nuit est-il illégal ? | การแชร์ภาพหอไอเฟลตอนกลางคืนผิดกฎหมาย?

Selon la loi, toute œuvre architecturale située dans l’espace public est protégée par le droit d’auteur qui a une durée de 70 ans après la mort de l’auteur. Gustave Eiffel est mort en 1923, la tour Eiffel n’est donc plus soumise au droit d’auteur aujourd’hui. Pourtant, la tour Eiffel est décorée de 20 000 ampoules installées en 1985 par l’éclairagiste Pierre Bideau. Cet éclairage est aussi considéré comme une création et est donc protégé par le droit d’auteur.
ตามกฎหมายแล้ว งานสถาปัตยกรรมใดๆ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งมีระยะเวลา 70 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเสียชีวิต Gustave Eiffel เสียชีวิตในปี 1923 ปัจจุบัน หอไอเฟลจึงไม่อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม หอไอเฟลได้รับการตกแต่งด้วยหลอดไฟกว่า 20,000 ดวง ในปี 1985 โดยนักออกแบบแสง Pierre Bideau ซึ่งไฟเหล่านี้ถือเป็นการสร้างสรรค์เช่นกันและดังนั้นจึงได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
Mais ne vous inquiétez pas ! Selon le site officiel de la tour Eiffel, « les prises de vues de la tour Eiffel de nuit pour des particuliers et pour un usage privé ne nécessitent aucun accord préalable. À l’inverse, les professionnels doivent impérativement se rapprocher de nos équipes qui leur indiqueront les conditions d’exploitation des images. » Alors en un mot, tant qu’on ne vend pas les photos, on peut continuer à jouer les touristes sans crainte ! 😍
แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ! อ้างอิงจากเว็บไซต์ทางการของหอไอเฟล “ภาพถ่ายหอไอเฟลในเวลากลางคืนสำหรับรายบุคคลและเพื่อการใช้งานส่วนตัวนั้นไม่จำเป็นต้องมีการตกลงล่วงหน้า ในทางกลับกัน ผู้ประสงค์นำไปใช้ในอาชีพต้องติดต่อทีมงานของเราเพื่อรับทราบถึงเงื่อนไขการใช้รูปภาพ” ฉะนั้น สรุปว่าตราบใดที่ไม่นำรูปถ่ายไปขาย เราสามารถทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวได้ต่อไปอย่างไม่ต้องเกรงกลัวค่ะ! 😍
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้