การเชื่อมเสียงในภาษาฝรั่งเศส | Les liaisons

การเชื่อมเสียงหรือที่เรารู้จักกันว่า les liaisons ในภาษาฝรั่งเศสนั้น มีความสำคัญมากในการอ่านออกเสียงภาษาฝรั่งเศส เนื่องจากว่ามี กฎการเชื่อมที่ตายตัว ต้องเชื่อมเสียงอย่างไร เป็นเสียงอะไร ตัวไหนเชื่อมได้ เชื่อมไม่ได้ ทำให้การเรียนและการทำความเคยชินกับ les liaisons นั้นจำเป็น(และสนุก)มากๆ

โดยการเชื่อมจะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ต้องเชื่อมเสมอ (les liaisons obligatoires), เชื่อมก็ได้ไม่เชื่อมก็ได้ (les liaisons facultatives) และ ห้ามเชื่อม (les liaisons interdites) เรามาทำความรู้จักกับ 3 กลุ่มนี้กันค่ะ

Les liaisons obligatoires | ต้องเชื่อมเสมอ

Play Video

ในกลุ่มที่ต้องเชื่อมเสมอนั้น จะสามารถสรุปออกมาได้เป็น 5 ข้อหลักๆคือ

1

ระหว่าง un déterminant และ คำนาม

un déterminant ก็คือคำกำหนดที่วางหน้าคำนามต่างๆ จะรวมถึง คำนำหน้าคำนาม (les articles), คำบอกความเป็นเจ้าของ (les possessifs), คำบ่งชี้ (les démonstratifs) และอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น
un ami [อัง นามี]
les enfants [เล ซองฟอง]
cette information [เซ็ท ตังฟอฮมาซิอง]
เป็นต้น

2

ระหว่างสรรพนามและกริยา (pronom + verbe / verbe + pronom)

ข้อนี้จะเป็นข้อที่เราค่อนข้างคุ้นเคย คือระหว่างสรรพนามและกริยา ยกตัวอย่างเช่น
il est [อีล เล]
elle est [แอล เล]
nous avons [นู ซาวง]
sont-elles [ซง-แตล]

3

ระหว่างคำคุณศัพท์และคำนาม (adjectif + nom)

ในกรณี เราจะต้องเชื่อมเสียงเสมอถ้า adjectif อยู่ด้านหน้าคำนามเท่านั้น โดย adjectif ที่ถูกวางอยู่หน้าคำนามนั้นมีไม่เยอะ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวที่เราได้ใช่บ่อย (ถ้าต้องการทบทวนการวางตำแหน่งของ adjectif กด ที่นี่) ยกตัวอย่างเช่น
petits examens [เปอติ เซ็กซามัง]
grand homme [ก(ฮ)อง ตม]
dix heures [ดิ เซอ(ฮ)]

4

หลังคำบุพบทหรือคำวิเศษณ์สั้นๆ (après prépositions/adverbes court(e)s)

ด้านหลังคำบุพบทและคำวิเศษณ์สั้นๆหลายๆตัว เราก็จะเชื่อมเสียงเช่นกัน (très, dans, en, sous, chez, sans, bien, etc.) ยกตัวอย่างเช่น
dans un an [ดอง ซัง นอง]
sous une boîte [ซู ซึน บวท]
très aimable [เ(ทฮ)อะ เซมาเบลอะ]

5

อื่นๆ

จะมีกลุ่มคำบางกลุ่ม ที่จะเชื่อมเสียงเสมอเมื่อใช้ด้วยกัน กลุ่มคำพวกนี้อาจจะเป็นสำนวน หรือคำชนิดอื่นๆ เช่น
de plus en plus [เดอ พลุ(ว) ซอง พลุ(ว)ส]
temps en temps [เดอ ตอง ซอง ตอง]
plus ou moins [พลุ(ว) ซู มวง]
peut-être [เปอ เทะเ(ทฮ)อะ]

Les liaisons facultatives | เชื่อมก็ได้ไม่เชื่อมก็ได้

Play Video

การเชื่อมเสียงที่ไม่บังคับ เชื่อมก็ได้ไม่เชื่อมก็ได้ จะมี 6 ข้อหลักๆ คือ

1

หลังกริยา être (après être)

หลังกริยา être ไม่ว่าจะอยู่ในโครงสร้างประโยคแบบไหน ก็จะสามารถเชื่อมเสียงไปหาคำด้านหลังได้ที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่จะไม่บังคับ ยกตัวอย่างเช่น
C’est un ami. [เซ อัง/ตัง นามี]
Ils sont en France. [อีล ซง ออง/ตอง ฟ(ฮ)อง(ซ)]

2

ระหว่างคำนามและคำขยายคำนามรูปพหูพจน์ (entre un nom pluriel et l’adjectif ou le complément du nom)

เราได้เห็นไปแล้วว่า ถ้าคำคุณศัพท์อยู่หน้าคำนาม เราจะ”ต้อง”เชื่อมเสียงเสมอ แต่ในกรณีที่คำคุณศัพท์/คำที่มาขยายคำนาม มาด้านหลังคำนามนั้น เราจะเชื่อมเสียงก็ได้ ไม่เชื่อมก็ได้ เช่น
des personnes âgées [เด แปฮซน อาเจ/ซาเจ]
mes amis étrangers [เม ซามี เอท(ฮ)องเจ/เซท(ฮ)องเจ]
les personnes en question [เล แปฮซน ออง/ซอง เคสซิอง]

3

ระหว่างกริยาช่วย (avoir/être) และกริยาที่ถูกผันในรูป participe passé (entre les auxiliaires (avoir/être) et le participe passé)

ในการผันของกาลบางกาล ที่มีกริยาช่วย auxiliaire avoir หรือ être นั้น สามารถเชื่อมเสียงระหว่างกริยาช่วยและกริยาหลักที่ถูกผันในรูป participle passé ได้ ยกตัวอย่างเช่น
nous avons étudié [นู ซาวง เอทูวดิเอ/เซทูวดิเอ]
je suis allée [เจ ซุย อาเล/ซาเล]

4

หลังกริยาที่ถูกผันตามประธานที่เป็นพหูพจน์ (après un verbe conjugué au pluriel)

ประธานที่เป็นพหูพจน์มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ nous, vous, ils/elles ด้านหลังกริยาที่ถูกผันตามประธาน 3 กลุ่มนี้ สามารถเชื่อมเสียงไปหาคำที่ขึ้นต้นด้วยสระได้ เช่น
nous arrivons en avance [นู ซาฮีวง ออง/ซอง นาวอง(ซ)]
ils mangent énormément [อีล มอง(จ) เอนอฮเมมอง/เตนอฮเมมอง]

5

ระหว่างกริยารอง (aller, devoir, pouvoir, vouloir, falloir) และกริยาหลัก (entre aller, devoir, pouvoir, vouloir, falloir et le verbe principal)

กริยารอง จะเป็นกริยาที่เวลานำมาใช้ในประโยคแล้ว จะไม่อยู่ตัวเดี่ยวๆ จะมีกริยาหลัก (ในรูปไม่ผัน) มาตามหลัง เราสามารถเชื่อมเสียงระหว่างกริยารอง และกริยาหลักได้ ยกตัวอย่างเช่น
je vais aller [เจ เว อาเล/ซาเล]
ils peuvent étudier [อีล เปลเวอะ เอทูวดิเอ/เตทูวดิเอ]

6

หลังคำวิเศษณ์และคำบุพบทยาว (après des adverbes et des prépositions polysyllabiques)

เราได้ดูไปแล้วว่า หลังกคำวิเศษณ์และคำบุพบทสั้นๆ จะต้องเชื่อมเสียง แต่ถ้าคำวิเศษณ์หรือคำบุพบทมีเสียงมากกว่า 1 พยางค์ การเชื่อมเสียงจะไม่บังคับ เช่น
après une heure [อะเ(พฮ)ะ อึน/ซึน เนอ(ฮ)]
énormément intéressant

Les liaisons interdites | ห้ามเชื่อม

Play Video

กฎการห้ามเชื่อมเสียงนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะห้ามเพื่อที่ไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดกับการเชื่อมเสียงอื่นๆ เพราะในภาษาฝรั่งเศส มีคำหลายๆคำที่ออกเสียงคล้ายกัน (เช่น et/est) การห้ามเชื่อมเสียง เลยจะช่วยให้เข้าว่าเป็นคำไหนที่ถูกเลือกใช้ มาดูสรุปกฎการห้ามเชื่อมเสียง 5 ข้อหลักๆกัน

1

หลังคำเชื่อม “et” (après «et»)

เนื่องจากว่าคำเชื่อม et ที่แปลว่าและ ออกเสียงเหมือนการผันหลายๆรูปของกริยา être เพื่อไม่ให้สับสน จึงห้ามเชื่อมเสียงหลัง et ยกตัวอย่างเช่น
un chat et un chien [อัง ชะ เอ อัง เชียง]
une cuillère et une fourchette [อึน คุยแยฮ เอ อึน ฟูฮเช็ท]

2

ด้านหน้า h aspiré (devant «h aspiré»)

แน่นอนว่า ด้านหน้า h muet นั้น เราต้องเชื่อมเสียงเสมอ แต่หน้า h aspiré จะห้ามเชื่อมเสียง เช่น
les haricots [เล อาฮิโก]
mon héros [โม เอโฮ]

3

หลังคำตั้งคำถาม (après les adverbes interrogatifs)

หลังคำตั้งคำถามบางตัว ที่การเชื่อมเสียงจะทำให้ความหมายนั้นเปลี่ยน เราจะไม่สามารถ​เชื่อมเสียงได้ เช่น 
Quand arrive-t-il ? [กอง อาฮี(เวอะ)-ตีล]
Comment était le film ? [คอมอง เอเต เลอ ฟีล(ม)]​

4

ระหว่างคำนามและคำคุณศัพท์รูปเอกพจน์ (entre un nom singulier et l’adjectif)

เราได้เห็นกันกฎการเชื่อมกันไปแล้วว่า 2 ข้อ ระหว่างคำนามและคำคุณศัพท์
– ถ้าคำคุณศัพท์ มาหน้าคำนาม ต้องเชื่อมเสมอ
– ถ้าคำคุณศัพท์ มาหลังคำนาม และเป็นรูปพหูพจน์ เชื่อมก็ได้ไม่เชื่อมก็ได้
เพราะฉะนั้น ก็จะยังเหลืออีก 1 กรณีคือ ถ้าคำคุณศัพท์ มาหลังคำนาม และเป็นรูปเอกพจน์ เราก็จะ”ห้ามเชื่อม” ยกตัวอย่างเช่น

5

​ระหว่างประธาน (ที่ไม่ใช่คำสรรพนาม) และกริยา (entre un sujet (sauf pronom) et un verbe)​

สุดท้ายนี้ ถ้าประธานของประโยคนั้น ไม่ใช่สรรพนาม จะห้ามเชื่อมเสียงไปหากริยา เช่น
Mes amis étudient. [เม ซามี เอทูวดี]
Jean est à la gare. [จอง เอ อา ลา กาฮ]

การเชื่อมเสียงอาจจะดูค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนไปบ้าง แต่จริงๆแล้ว ความเคยชินจะช่วยให้เราเชื่อมเสียงถูกต้องได้เอง เพราะฉะนั้น การฝึกฝนที่ดีที่สุดก็คือ การฝึกฟัง และอ่านออกเสียงบ่อยๆนั่นเอง

Bon courage !

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

แตงโม

เรียนภาษาฝรั่งเศส ง่ายกว่าที่คิด

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้

เพื่อประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของเรา ทางเราจึงใช้คุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับนโยบายคุกกี้ของเราได้ที่นโยบายคุกกี้